ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Center)

รายละเอียด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

รายละเอียด

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Center)

หลอดเลือดสมอง ประกอบด้วยหลอดเลือดแดง และ หลอดเลือดดำ ซึ่งทำหน้าที่รับส่งสารอาหาร ออกซิเจน และ ของเสีย จากสมอง หากหลอดเลือดสมองมีความผิดปกติที่ระบบหลอดเลือด ไม่ว่า แตก, ตีบ, หรือ ตัน  หากผู้ป่วยที่เกิดภาวะผิดปกติเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที  ผู้ป่วยสูงถึง 70% เกิดภาวะพิการ เช่น แขนขาอ่อนแรง ชาตัว เดินเซ ไปตลอดชีวิต และ ผู้ป่วยประมาณ 5% อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

            โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ stroke เป็นส่วนหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อย ส่วนมากเกิดจากการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดง ส่งผลให้สมองขาดเลือดและตาย ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการ แขนขาอ่อนแรงครึ่ง ชาตัวครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง และ เดินเซ สำหรับประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองได้ 1.88 ราย ต่อ ประชาชน ช่วงอายุ 45-80 ปี 100 คน

โรงพยาบาลราชพฤกษ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง จะจัดตั้งศูนย์โรคหลอดเลือดสมองขึ้น โดยให้บริการครบวงจร ตั้งแต่ การดูแลในภาวะฉุกเฉิน เช่น การรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด(ra-PA) การผ่าตัดสมอง การเฝ้าระวังภาวะเสริกซ้อนของโรคเลือดเลือดสมองแบบป่วยใน จนถึงการฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ

บริการของศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง

  • ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคโดยแพทย์
    • ส่งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
    • การวินิจฉัยทางรังสีวิทยา
      • CT scan
      • MRI scan
      • Carotid duplex ultrasound
  • การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
    • ยาสลายลิ่มเลือด
    • ยาต้านเกร็ดเลือด
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
    • การผ่าตัด
    • การเฝ้าระวังภาวะเทรกซ้อนแบบผู้ป่วยใน
  • การฟื้นฟู ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับคนไข้เฉพาะบุคคล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝึกยืน เดิน และการทำกิจกรรมต่างๆ
    • ฝึกพูด
    • ฝึกกลืน
    • ฝึกการทรงตัว
    • ระงับปวด
    • ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ

อาการที่พบบ่อย

  • อาการเบื้องต้นของผู้ที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน คือ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก, ชาตัวครึ่งซีก, ปากเบี้ยว, หน้าเบี้ยว, พูดไม่ชัด, ลิ้นแข็ง, ตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน, เดินเซ, พูดไม่ได้ และ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะ ปวดศีรษะ ร่วมด้วย และส่วนมาก ผู้ป่วยมักมีอาการหลายๆอย่างร่วมกัน หากมีอาการแสดงเหล่าโดยเป็นกะทันหัน ควรรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ อย่างเร่งด่วน

กลุ่มเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองตีบ
    • ผู้สูงอายุ, โรคความดันสูง, โรคเบาหวาน, และ สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองตัน
    • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • ภาวะลิ้นหัวใจติดเชื้อ
    • โรคมะเร็งบางชนิด
  • ผู้มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองแตก
    • โรคความดันสูง
    • โรคหลอดเลือดฝอยผิดปกติ เช่น ภาวะสะสมของ Amyloid
    • โรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบแข็งตัวของเลือด

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

  • ภาวะเฉียบพลัน ภายใน 4.5 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการ
    • ผู้ป่วยกลุ่มนี้หากเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยอย่างทันท่วงที และ ไม่มีความเสี่ยงกับภาวะเลือดออกง่าย ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด (rt-PA)
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันทุกราย ควรได้รับการป้องกัน โดยขึ้นกับโรคประจำตัวและสาเหตุของโรค เช่น
    • ยาต้านเกร็ดเลือด
    • ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
    • ยาลดไขมัน
  • กายภาพบำบัด และ ฟื้นฟู

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

            ทีมงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูซึ่งนำทีมโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด จะร่วมกันประเมินและวางแผนการรักษาภาวะต่างๆ ที่ยังมีความบกพร่องหลงเหลือหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะที่พบได้บ่อยหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • แขนขาอ่อนแรง ส่งผลต่อการเดิน และการใช้ชีวิตประจำวัน ทีมนักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาโดยการกระตุ้นกล้ามเนื้อ การขยับข้อ การฝึกเดิน และสอนการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ภาวะบกพร่องทางภาษา ส่งผลกระทบต่อความเข้าใจของผู้ป่วยเองและการพูดสื่อสารออกมา ทีมนักกิจกรรมบำบัดสามารถจะช่วยฝึกผู้ป่วยโดยใช้เทคนิคเฉพาะตามความบกพร่องของผู้ป่วยเป็นรายๆไป
  • การกลืนอาหารลำบาก ส่งผลกระทบถึงภาวะโภชนาการ และอาจนำไปสู่การสำลักอาหารทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ หรือเกิดภาวะปอดอักเสบ การบำบัดสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อการกลืน และการปรับเปลี่ยนชนิดอาหาร
  • ภาวะเกร็งกล้ามเนื้อ ส่งผลให้การเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก บางครั้งทำให้เกิดความปวดตามมา สามารถรักษาได้โดยการใช้ยา การออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการใช้เครื่องมือทางกายภาพ