ฝีบริเวณทวารหนัก และฝีคัณฑสูตร

ฝีบริเวณทวารหนัก และฝีคัณฑสูตร (Anal abscess and fistula)

โรคฝีบริเวณทวารหนัก (Anal/perianal abscess) เป็นการติดเชื้อเป็นหนองที่ช่องบริเวณรอบลำไส้ตรง หรือทวารหนัก โรคฝีคัณฑสูตร (Fistula in ano) เป็นโรคที่มีท่อเชื่อมจากบริเวณรูทวารหนักต่อออกมา ยังผิว

หนังใกล้กับรูทวารหนัก ซึ่งโรคฝีคัณฑสูตรมักเกิดจากการเป็นโรคฝีบริเวณทวารหนักอย่างเรื้อรัง

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากต่อมผลิตเมือกรอบทวารหนัก มีการอุดตันจากเศษอุจจาระ หรือสิ่งแปลกปลอม ทำให้ เกิดการติดเชื้อ กลายเป็นฝีบริเวณทวารหนัก ถ้าฝีบริเวณทวารหนักแตกออกมาที่ผิวหนัง ก็จะเป็นเป็นฝี คัณฑสูตรตามมา เนื่องจากกายวิภาคบริเวณทวารหนักมีกล้ามเนื้อซับซ้อน จึงทำให้เป็นฝีบริเวณทวารหนัก และฝีคัณฑสูตร ของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน

อาการ

  • ปวด บวม แดง รอบบริเวณทวารหนัก
  • มีเลือด หรือหนองซึมออกมาจากแผลบริเวณก้น เป็นๆ หายๆ คันบริเวณทวารหนัก
  • ปวดหน่วง ในทวารหนัก
  • ปวดทวารหนักขณะเบ่ง หรือขับถ่ายอุจจาระ
  • มีไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น

การวินิจฉัย

โรคฝีบริเวณทวารหนัก และโรคฝีคัณฑสูตร สามารถให้การวินิจฉัยจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย โดยละเอียด จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องพิเศษ เช่น อัลตราซาวด์บริเวณ ทวาร (Endorectal ultrasound) หรือเอกซ์เรย์คลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) ใน การวินิจฉัย

การรักษา

การรักษาโรคฝีบริเวณทวารหนัก คือ การกรีดระบายหนอง โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา

การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร คือ การผ่าตัด ซึ่งมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีก็จะเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายไม่ เหมือนกัน เช่น การผ่าตัดเปิดฝีคัณฑสูตรตลอดแนวยาว (Fistulotomy) การผ่าตัดใส่สายระบายหนอง (Seton drainage) การผ่าตัดผูกท่อเชื่อมฝีคัณฑสูตรโดยไม่ตัดหูรูด (Ligation of intersphincteric fistula tract, LIFT opeartion) เป็นต้น

วิธีการรักษาแต่ละวิธี มีข้อดี และข้อบกพร่อง แต่ต่างกันออกเป็น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยควรปรึกษา กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ข้อมูลและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย

นพ.กฤติน ขจรวงศ์สถิต ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 23 มิถุนายน 2562