คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด

(Patient Instruction for Total mastectomy or Modified Radical Mastectomy)

1) ข้อมูลเบื้องต้น Basic information

การผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมมีหลายแบบ การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด (Total mastectomy) และ/หรือการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดและการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง (Modified Radical Mastectomy) ก็เป็นวิธีการที่นิยมอีกวิธีหนึ่ง โดยจะทำการผ่าตัดเอาเนื้อเต้านม หัวนม วงลานนมและผิวหนังบริเวณของเต้านมออกทั้งหมด และอาจจะทำการเลาะต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ออกด้วย

1.1 การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด (Total or Simple mastectomy) เป็นการตัดเต้านมออกทั้งหมด รวมทั้งผิวหนังที่อยู่เหนือก้อนและหัวนม แต่ไม่ได้เลาะต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ออกมาด้วย ส่วนมากมักทำในรายที่คลำต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ไม่ได้ แพทย์มักทำการฉีดสีไปที่ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้เพื่อพิสูจน์ (Sentinel lymph node biopsy) ดูว่ามีการกระจายของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ (ดูจากคำแนะนำเรื่อง “ Sentinel lymph node”)

1.2 การผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากชนิดปรับปรุง (Modified Radical Mastectomy) เป็นการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด รวมทั้งผิวหนังส่วนที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งรวมทั้งหัวนมและฐานนม ต่อมและทางเดินน้ำเหลืองที่รักแร้ โดยเหลือกล้ามเนื้อหน้าอกไว้ โดยผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อการเกิดแขนบวมหลังผ่าตัดได้ แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยทำกายบริหารอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันข้อไหล่ติดแขนบวมได้ ผู้ป่วยที่ตัดเต้านมออกจะรู้สึกเสียสมดุลผิวบริเวณที่ผ่าจะตึงกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และแขนจะตึงและรู้สึกอ่อนแรง ปัญหานี้จะหมดไปหากบริหารแขนและหัวไหล่ตามที่แพทย์แนะนำ บางครั้งในการผ่าตัดอาจทำให้แขนชา แสบร้อนในทรวงอก ใต้รักแร้ ไหล่ และต้นแขน อาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 3-4 สัปดาห์ บางรายที่เอาต่อมนำเหลืองบริเวณรักแร้ออกอาจทำให้แขนข้างนั้นบวมได้เนื่องจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองไม่ดี

2) ทางเลือกอื่นในการรักษา Intervention Options

2.1 การผ่าตัดเต้านมออกบางส่วน (Breast conserving surgery)  และตามด้วยการฉายรังสีรักษา (ขึ้นอยู่กับระยะของ

     โรคและดุลยพินิจของแพทย์)

2.2 การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดและเสริมสร้างเต้านมขึ้นใหม่

โดยแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Total mastectomy and breast reconstruction

2.2.1 การผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างสามารถทำได้ในครั้งเดียว (immediate breast reconstruction)

2.2.2 เพื่อเสริมสร้างเต้านมใหม่ (delayed breast reconstruction)

2.3 ถ้าพบก้อนมะเร็งแล้ววิธีการรักษาที่เหมาะสมคือการผ่าตัด หลังจากการผ่าตัดแล้วมีวิธีการรักษาร่วมที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับอีก 3 วิธี โดยการจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ระยะของโรค สภาพของผู้ป่วยและการปรึกษาร่วมกับ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 3 วิธีนั้นมีดังนี้

2.3.1 การใช้รังสีรักษา Radiotherapy

2.3.2 การรับประทานยาฮอร์โมน Taking hormonal drugs

2.3.3 การใช้ยาเคมีบำบัด Chemotherapy

3) ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา Risks and side effects of treatment

3.1 ความเสี่ยงทั่วไป General Risks

1. การเจ็บและปวด บริเวณที่ผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวดขนาดที่เหมาะสมสามารถบรรเทาอาการปวดได้

2. แผลติดเชื้อ แผลติดยาก ภาวะเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ ทีมแพทย์และ 

   พยาบาลตลอดจนผู้เกี่ยวข้องจะดูแลและป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวให้เกิดน้อยที่สุด.

3. ความไม่สบาย ตึง หรือติด บริเวณไหล่ คอ หน้าอก หรือ แขน อาจเกิดอาการระยะเวลาหนึ่ง เมื่ออาการปวดน้อยลง     ทีมผู้ดูแลจะให้คำแนะนำที่เหมาะสมตามสภาพแต่ละบุคคลเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถบริหารร่างกายได้ เมื่อบริหารอย่างสม่ำเสมอความรู้สึกนี้จะดีขึ้น

4. ชา บริเวณหน้าอก หัวไหล่ และใต้ท้องแขน เกิดจากเส้นประสาทบริเวณท้องแขนหรือใต้รักแร้ถูกตัดหรือจี้ด้วยไฟฟ้า อาการจะคงอยู่เป็นเวลาประมาณ 2-3 เดือน

3.2 ความเสี่ยงเฉพาะด้าน Specific Risks

1. ความไม่สบาย ตึง หรือติด บริเวณไหล่ คอ หน้าอก หรือ แขน อาจเกิดอาการระยะเวลาหนึ่ง เมื่ออาการปวดน้อยลง ทีมผู้ดูแลจะให้คำแนะนำที่เหมาะสมตามสภาพแต่ละบุคคลเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถบริหารร่างกายได้ เมื่อบริหารอย่างสม่ำเสมอความรู้สึกนี้จะดีขึ้น

2. ชา บริเวณหน้าอก หัวไหล่ และใต้ท้องแขน เกิดจากเส้นประสาทบริเวณท้องแขนหรือใต้รักแร้ถูกตัดหรือจี้ด้วยไฟฟ้า อาการจะคงอยู่เป็นเวลาประมาณ 2-3 เดือน

          3. น้ำเหลืองหรือของเสียคั่งในแผลหลังผ่าตัด โดยทีมผู้ดูแลจะเฝ้าระวังจำนวน สี และลักษณะของเสีย ตลอดจนการทำงานของขวดระบายระบบสุญญากาศอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติหรือจำนวนของเสียมากกว่าปกติ แพทย์จะรีบดำเนินการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ทันที 

4. กรณีมีการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก อาจมีอาการแขนข้างที่ผ่าตัดบวม เนื่องจากทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน ทีมผู้ดูแลจะแนะนำผู้ป่วยให้ระวังการกดทับที่แขน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อน การใช้แขนข้างที่ผ่าตัดเต้านมออกแรงหรือยกของหนักมากเกินไป ห้ามเจาะเลือด ฉีดยาหรือวัดความดันเลือดแขนข้างนั้น การดูแลหากเกิดแผลที่แขน และการพบแพทย์หาก

สงสัยว่ามีการติดเชื้อบริเวณดังกล่าว

4) การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด  Preparation before surgery

1. การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และน้ำ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยในการหายของแผลและการฟื้นตัวของผู้ป่วยเร็วขึ้น

2. โรคประจำตัว ผู้ป่วยที่มีโรคที่เป็นความเสี่ยงต่อการดมยาสลบ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคปอดจำเป็นต้องได้รับการควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ เพื่อมิให้เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แพทย์จะให้ทำและพิจารณาผลการตรวจล่วงหน้าเพื่อประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด 

4. หลังจากผู้ป่วยและญาติทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรค การผ่าตัดและค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้ว จะต้องเซ็นหนังสือแสดงความยินยอมรับการผ่าตัด/ ทำหัตถการ/ ตรวจวินิจฉัยทั่วไป และหนังสือแสดงความยินยอมรับการใช้ยาระงับความรู้สึกก่อนที่จะรับการผ่าตัด กรณีผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ตามปกติ หรือผู้ป่วยอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องให้บิดา/ มารดา หรือผู้แทนที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนผู้ป่วย

5. เตรียมสภาพจิตใจให้พร้อม พยายามลดความวิตกกังวล นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เสริมสร้างความรู้สึกมีความหวังและกำลังใจให้ตนเอง หรือญาติมีส่วนช่วยสนับสนุนด้วย หากมีความไม่สบายใจหรือไม่เข้าใจเรื่องใดสอบถามแพทย์และทีมผู้ดูแล

5) การเตรียมก่อนผ่าตัด Preoperative preparation

วันก่อนผ่าตัด The day before surgery

1. ดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไป คือ อาบน้ำ สระผม ล้างเล็บ ตัดเล็บมือและเท้าให้สั้น

2. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาเฉพาะเป็นบางรายให้มีการโกนขนบริเวณเต้านมและรักแร้ข้างที่จะทำผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

3. กรณีการผ่าตัดที่ต้องดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำทางปากทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด หรือก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงเพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง ป้องกันการสำลักอาหาร ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด

4. ฝึกการหายใจและไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจภายหลังการผ่าตัด

4.1. การหายใจมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี และช่วยการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น มีวิธีปฏิบัติดังนี้

– นอนท่ากึ่งนั่ง กึ่งนอน เพื่อคลายกล้ามเนื้อหน้าท้อง และให้ทรวงอกขยายตัวเต็มที่ วางมือเบาๆ บนหน้าท้อง หายใจเข้าช้าๆ  ทางจมูก ให้ปอดขยายเต็มที่ และหายใจออกช้าๆ ทางริมฝีปาก (ท้องจะห่อตัวเข้า) ฝึกทำประมาณ 5 ครั้งให้คุ้นเคย

4.2. การไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจ

– ภายหลังหายใจที่มีประสิทธิภาพ 3-5 ครั้ง ให้ไอออกมาจากส่วนลึกของปอด โดยกลั้นลมหายใจ ภายหลังหายใจเข้า

แล้วไอออกมาแรงๆ

 เช้าวันผ่าตัด Morning day of surgery

1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอีกครั้งเพื่อให้ร่างกายสะอาด สดชื่น

2. ถอดเก็บของมีค่า ฟันปลอม ผมปลอม คอนแทคเลนซ์ ฝากญาติเก็บไว้ 

3. ถ่ายปัสสาวะก่อนไปห้องผ่าตัด

4. อาจมีการให้ยาทางหลอดเลือดดำเพื่อให้ผ่อนคลาย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

6. การปฏิบัติตนหลังผ่าตัด Postoperative care

ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด เพื่อให้ปลอดภัยจากภาวะตกเตียง อาการไม่สุข

สบายต่างๆ เช่น การปวดแผล การขับถ่าย การได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ การดูแลสายหรือท่อระบายจากแผล กรณีที่แพทย์

พิจารณาว่าจำเป็นต้องมีสาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแล รวมทั้งร่วมสังเกตและดูแลตนเองโดยญาติสามารถมีส่วนช่วยเหลือได้ดังนี้ 

1. หลังผ่าตัดให้นอนยกแขนข้างที่ทำผ่าตัดสูง 45 องศา โดยใช้หมอนรองใต้แขน เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นและป้องกันแขนบวม ห้ามวัดความดัน  เจาะเลือด  ให้สารน้ำ  ฉีดยาทั้งทางกล้ามเนื้อและหลอดเลือดแขนข้างที่ผ่าตัด  เพื่อป้องกันการติดเชื้อและเกิดภาวะแขนบวม   

2. แผลผ่าตัดจะมีผ้าปิดแผลไว้ ผู้ป่วยต้องระวังอย่าให้เปียกน้ำ หากมีเลือดซึมผ้าปิดแผลมาก ให้รีบแจ้งพยาบาล

3. เมื่อปวดแผล จะมียาแก้ปวดให้รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง หรืออาจให้ยาฉีดแก้ปวดทางหลอดเลือดดำตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ 

4. แผลผ่าตัดส่วนใหญ่ จะมีสายหรือท่อระบายออกจากแผล ดูแลไม่ให้หัก พับ งอ รั่วหรือเลื่อนหลุดจากตำแหน่งเดิม และดูการทำงานของสายหรือท่อระบายให้ทำงานอยู่เสมอ ไม่ให้มีการอุดตัน และวางขวดระบายให้อยู่ในระดับต่ำกว่าแผลผ่าตัด 

5. สังเกตภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น บวม ปวดมากขึ้น มีไข้ แขนบวม ข้อไหล่ติด เป็นต้น หากเกิดอาการรีบแจ้งทีมดูแล หรือถ้ากลับบ้านแล้วมีความผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์

6. บริหารร่างกายหลังจากอาการปวดทุเลาลงตามที่ทีมดูแลแนะนำเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย และป้องกันข้อไหล่ติด ควรบริหารร่างกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกวัน โดยเฉพาะกรณีเลาะต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ออก

7. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีน เช่น นม เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายหลังผ่าตัด

8. กระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

9. ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างครบถ้วน

10. ญาติมีส่วนร่วมให้กำลังใจ ดูแล รับฟังความรู้สึก หรือความไม่สบายใจของผู้ป่วย รวมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยให้

สามารถฟื้นฟูสภาพกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติเร็วที่สุด

           การดูแลท่อระบายที่ต่อลงขวดสูญญากาศ (Radivac drain)

กรณีใส่ท่อระบายออกจากแผล แพทย์จะพิจารณาปริมาณของเสียที่ออกจากแผล โดยหากมีปริมาณรวมทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง จำนวนน้อยกว่าวันละ 50 ซีซี แพทย์จึงจะดึงสายออกจากแผลและอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ แต่ในบางรายอาจจะยังมีของเสียออกมาเรื่อยๆ แพทย์อาจให้คาท่อระบายกลับบ้านไปด้วย การดูแลท่อระบายมีดังนี้ 

  • ดูแลสายไม่ให้พับงอ
    • ติดยึดสายให้ดีไม่ดึงรั้งและป้องกันการเลื่อนหลุด
    • ดูแลให้ขวดรองรับสารคัดหลั่งเป็นระบบสุญญากาศเสมอ (สังเกตจุกยางด้านบนหดตัว)
    • สังเกตสี  ลักษณะ  ปริมาณสารคัดหลั่งและบันทึกทุกวัน

ถ้ามีอาการผิดปกติสามารถติดต่อสอบถามที่ Ward6 เบอร์ 062-2155957หรือ Ward12 เบอร์ 066-1210910 ได้ตลอดเวลา หรือ ถ้าเร่งด่วนสามารถพบแพทย์รพ.ใกล้บ้าน อาการผิดปกตที่ต้องรีบมาพบแพทย์ เช่น

  • มีอาการปวดแผลมากขึ้น  มีไข้  แผลบวมแดง
    • ขวดสุญญากาศไม่ทำงาน หรือปริมาณน้ำในขวดออกมาก ¾ ขวด

How to apply plaster to prevent the drain tube from sliding off.

การนัดติดตามผล Appointment and follow-up.

  1. การติดตามการรักษา
    1. เดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลราชพฤกษ์
    1. การติดตามการรักษาผ่านระบบ Telemedicine (ซึ่งต้องได้รับคำยินยอมก่อนแล้ว)
    1. ติดตามการรักษากับสถานพยาบาลใกล้บ้าน (โดยจะมีประวัติการรักษาให้กับผู้ป่วยไปด้วย)

2. หากเมื่อเดินทางกลับประเทศ แล้วมีอาการผิดปกติ เช่น อาการปวดแผลมากขึ้น มีไข้ แผลบวมแดง สามารถติดต่อมาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลราชพฤกษ์ได้ผ่านช่องทาง WhatsApp /Line /Video call / Microsoft Team/Zoomที่ได้เคยแจ้งไว้ก่อนการเดินทาง เพื่อรับคำแนะนำ หรือให้ไปพบแพทย์ของท่านที่โรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อตรวจรักษา

3. ควรได้รับการตรวจร่างกายเป็นระยะ ๆตามโปรแกรมเพื่อเช็คการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม 

4. ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

5. ควรตรวจเต้านมข้างที่เหลือสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งการเกิดมะเร็งเต้านมอีกข้างอาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ การมาดูแลตามโปรแกรมจะช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกศัลยกรรม โทร.084-0272076

แผนกผู้ป่วยในชั้น 6     โทร.062-2155957

แผนกผู้ป่วยในชั้น 12    โทร.066-1210910

WEBSITE  www.rph.co.th

                LINE ID: @RPHLine