RSV คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ไวรัสอาร์เอสวี หรือ RSV (Respiratory syncytial virus) เป็นเชื้อไวรัสก่อนโรคติดชื้อระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 20-30 ของเด็กทารกและเด็กเล็กที่มีการติดเชื้อ จะมีการติดเชื้อลงไปยังทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่นปอดอักเสบ ถุงลมฝอยอักเสบ โดยจะมีอาการไอ หายใจเหนื่อยหอบ มีเสมหะ โดยจะมีหรือไม่มีไข้ก็ได้ กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรครุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสRSV นอกจากทารกและเด็กเล็กคือ ผู้สูงอายุ

การติดต่อของไวรัส RSV ติดต่อผ่านการสัมผัสละอองเสมหะของผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือ สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งซึ่งเชื้อสามารถอยู่บนสิ่งแวดล้อมได้นาน

การระบาดของไวรัส RSV ในประเทศไทยเกิดขึ้นในฤดูฝนประมาณเดือน มิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม

การรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัส หรือยาฆ่าเชื้อไวรัส RSV การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV ในเด็กเล็กและทารก

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน RSV สำหรับเด็ก  

การป้องกันการติดเชื้อ RSV ที่สำคัญทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสัมผัสเชื้อจากละอองเสมหะของผู้ป่วย RSV หรือหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

ทางเลือกของการป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดโรครุนแรงจากไวรัส RSV ในทารกและเด็กเล็ก

  1. การให้วัคซีนในมารดาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและส่งต่อมายังทารกแรกเกิด สามารถฉีดในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์ โดยการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์สามารถลดอัตราการติดเชื้อ RSV ปอดและหลอดลมฝอยอักเสบที่เป็นรุนแรงในทารกได้ ร้อยละ 81.8 ที่อายุ 3 เดือน และ ร้อยละ 69.4 ที่อายุ 6 เดือน ปัจจุบันวัคซีน RSV ที่สามารถฉีดในสตรีตั้งครรภ์ได้คือ ABRYSVO®
  2. การให้สารภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับฉีดให้กับทารกและเด็กเล็กโดยตรง ปัจจุบันมี 2 ชนิดได้แก่
 Pavilizumab (Synagis)Nirsevimab (Bayfortus)
เหมาะสำหรับกลุ่มเสี่ยง*  เด็กปกติอายุ <12 เดือน และกลุ่มเสี่ยงอายุ <24 เดือน *
การให้ยาที่เหมาะสมฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5 เดือนจนหมดฤดูระบาดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง ออกฤทธิ์ครอบคลุมตลอดฤดูกาลระบาด

*กลุ่มเสี่ยงที่เข้าเกณฑ์พิจารณาใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปได้แก่

– ทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ <35 สัปดาห์ อายุ <12 เดือน

– เด็กอายุน้อยกว่า 24 เดือนที่มีความเสี่ยงเช่นโรคปอดเรื้อรังจากการเกิดก่อนกำหนด (BPD)ที่ยังคงได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ ยาขับ ปัสสาวะ หรือมีการใช้ออกซิเจนในช่วง 6 เดือนก่อนเข้าสู่ฤดูกาลระบาด มีโรคหัวใจแต่กำเนิดที่มีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต มีปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจหรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและระบบประสาทที่มีผลต่อการไอและการขับเสมหะ มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง

การให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป nirsevimab

ฤดูกาลระบาดของ RSVขนาดของ nirsevimab
ฤดูกาลแรก (ขวบปีแรก)น้ำหนัก < 5 กก: 50 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ  ครั้งเดียว (1 เข็มขนาด 50 มก.)
น้ำหนัก ≥ 5 กก: 100 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งเดียว (1เข็มขนาด 100 มก.)
ฤดูกาลที่สอง สำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อ RSV รุนแรง
(อายุ 12-24 เดือน)
200 มก. แบ่งให้ 100 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน

ประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป nirsevimab

  •  ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ RSV ที่ต้องได้รับการรักษา (ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน) ร้อยละ 79.0
  • ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ RSV ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยละ 80.6
  • ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ RSV ทางเดินหายใจส่วนล่างที่ต้องเข้า ICU ได้ร้อยละ 90.0

ผลข้างเคียงของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป nirsevimab

Nirsevimab มีความปลอดภัยสูง เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์พบได้น้อย และมักมีอาการเพียงเล็กน้อย ที่พบบ่อยได้แก่ ผื่น (ร้อยละ0.9) ปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด (ร้อยละ 0.3)

ข้อห้ามใช้

 ห้ามใช้ในผู้มีประวัติแพ้อย่างรุนแรง เช่น anaphylaxis ต่อ nirsevimab และส่วนประกอบ เช่น arginine, histidine

…………………………………

บทความโดย พญ.อธิพร รุ่งทรัพย์ไพบูลย์

กุมารแพทย์อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ