“ไข้ซิกา” เกิดจากการติดเชื้อซิกาซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสแดง และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนกันกับไข้เลือดออก ไข้ซิกาจริงๆแล้วไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไรหากเกิดขึ้นกับคนปกติ แต่หากเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์จะถือว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากไวรัสอาจจะแพร่จากแม่ไปสู่ลูกได้ผ่านทางรกหรือเลือดที่มีการแลกเปลี่ยนกันและอาจส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมานั้นมีภาวะสมองเล็กและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้
ระยะฟักตัวของไวรัสซิกานั้นโดยปกติใช้เวลาเฉลี่ย 4-7 วัน โดยระยะสั้นที่สุดคือ 3 วัน นานที่สุด 12 วัน อาการที่พบบ่อยคือ มีไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวดข้อ ปวดศีรษะ ซึ่งจะคล้ายกับไข้หวัด โดยจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วหายไป สำหรับการรักษานั้น ยังไม่มียารักษาโดยตรง ปัจจุบันจะรักษาตามอาการโดยการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าไข้ลดลงตามกำหนดเวลาไม่มีภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือการทานยาลดไข้ บรรเทาปวด แนะนำให้เป็นยาในกลุ่มพาราเซตามอล และไม่แนะนำให้ใช้ยาลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ เพราะจะทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
วิธีการป้องกันและระวังไข้ซิกาที่ดีที่สุดที่แพทย์แนะนำ ดังนี้
- ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด
- ใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
- นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตู
- สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- หากมีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ให้พบแพทย์โดยด่วน
- หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด (ส่วนใหญ่คือประเทศแถบอเมริกาใต้)
ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเรา
🌼 #โรงพยาบาลราชพฤกษ์
☎️สอบถามข้อมูลบริการทางการแพทย์
โทร.043-333-555
ติดตามพวกเราทางไลน์
จะได้ไม่พลาดความรู้ด้านสุขภาพ/ข่าวสารดีๆ
LINE ID: @rphline (มีตัวแอดด้วยนะครับ)
หรือคลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40rphline